ขั้นตอน และ “วิธีเอาตัวรอดจากเหตุร้าย” ที่ทุกคนควรรู้เอาไว้

เราขอเสนอวิธีเอาตัวรอดจากเหตุการณ์กราดยิง มาให้เราได้ศึกษากัน เพื่อที่จะเป็นความรู้และสามารถนำไปใช้กัน สรุปของสรุป หนี อย่าโชว์หล่อ ใส่ตีนหมาหนี เอาตัวเองให้รอด ชวนคนอื่นหนี ถ้ามันไม่หนีเราหนีเลย ถ้าหนีไม่ได้ซ่อนให้เงียบที่สุด ล็อคประตู กระจายกันซ่อน ปิดเสียงโทรศัพท์ โพสต์โซเชียลว่าตัวเองอยู่ไหน เจอตำรวจยกมือสวย ๆ ตำรวจสั่งอะไรก็ทำ ถ้ามีผู้บาดเจ็บค่อยช่วย ก่อนเกิดเหตุ เข้ารับการฝึกการเอาตัวรอดจากผู้กราดยิง ถ้าคุณเห็นอะไรหรือสงสัยอะไร ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที ลงทะเบียนเพื่อรับการแจ้งเตือนฉุกเฉินในท้องที่และลงทะเบียนข้อมูลติดต่อของคุณกับระบบแจ้งเตือน พยายามระแวดระวังรอบ ๆ ตัวและระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น วางแผน วางแผนกับครอบครัวและทำให้แน่ใจว่าคนในครอบครัวทุกคนจะรู้ว่าตัวเองจะต้องทำยังไงถ้าพบกับผู้กราดยิง พยายามมองหาทางออกที่ใกล้ที่สุดสองทางออกในทุก ๆ ที่ที่คุณไป วางแผนหนีไว้ในใจและมองหาสถานที่ที่คุณอาจจะซ่อนตัวได้ในทุกที่ที่คุณไป ทำความเข้าใจแผนสำหรับคนพิการหรือผู้ที่ต้องการการช่วยเหลือพิเศษ ระหว่างเกิดเหตุ วิ่งหนีถ้าเป็นไปได้ การหนีจากผู้ก่อเหตุกราดยิง ( Active Shooter) คือความเร่งด่วนสูงสุด ทิ้งสัมภาระส่วนตัวและหนีอย่างเดียว ช่วยผู้อื่นหนีด้วยถ้าเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตามควรหนีไม่ว่าผู้อื่นจะยอมหนีตามไปด้วยหรือไม่ แจ้งเตือนและป้องกันไม่ให้ใครก็ตามที่จะเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดเหตุกราดยิง โทรแจ้งเหตุเมื่อคุณปลอดภัย และอธิบายรูปลักษณะ สถานที่ และอาวุธที่มีผู้ใช้กราดยิง ซ่อน ถ้าหนีไม่ได้ หลบจากสายตาของผู้กราดยิง และอยู่ให้เงียบที่สุด ปิดเสียงเครื่องมือสื่อสารทั้งหมด รวมถึงปิดการสั่น…

ระวัง 5 จุดอันตรายของนักบิด

อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิด โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่ มักเกิดกับรถจักรยานยนต์ โดยมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับรถที่ตัวเองขับ จากความไม่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมไปถึงความประมาท เช็คราคา.คอมตระหนักถึงความสำคัญในการลดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์บนท้องถนน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติไปแล้ว บทความนี้จึงจะมาแนะนำ 5 จุดอันตรายของนักบิด ที่อาจช่วยลดอุบัติเหตุจากการขับขี่จักรยานยนต์ได้ไม่มากก็น้อยครับ 1. จุดอับสายตาข้างรถ มุมอับหรือจุดบอดที่ผู้ขับรถยนต์ไม่อาจเห็นได้ชัดเจนนั่นคือ ช่วงด้านข้างรถค่อนไปทางด้านหลัง (บริเวณประตูหรือซุ้มล้อหลัง) ซึ่งจุดนี้ผู้ขับรถไม่สามารถเห็นได้จากกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลังได้ จึงเป็นจุดอับสายตา ดังนั้นการขับขี่จักรยานยนต์ควรระวังจุดอับสายตาตรงนี้เป็นสำคัญ เพราะเมื่อรถเลี้ยวหรือเปลี่ยนเลนอาจชนกันได้ 2. ขับจี้ท้ายรถบรรทุก การขับจี้ท้ายรถยนต์ทั่วไปนับว่าอันตรายอยู่แล้ว ยิ่งกับรถบรรทุกหรือรถที่ติดตั้งตู้ทึบเก็บของส่วนท้ายยิ่งควรหลีกเลี่ยง เพราะผู้ขับขี่จักรยานยนต์ไม่สามารถมองเห็นรถหรือเหตุการณ์ข้างหน้าในระยะไกลๆ ได้ ดังนั้นเมื่อจำเป็นต้องขับตามรถเหล่านี้ขอให้เว้นระยะห่างให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้และพยายามชิดซ้ายของช่องทางเพื่อให้มองผ่านรถคันถัดไปได้ 3. เลี้ยวโค้งไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย การเลี้ยวโค้งทุกครั้งควรให้ตัวรถอยู่ชิดขอบซ้ายของช่องทางมากที่สุด เพื่อป้องกันรถยนต์ที่ขับตามมาหรือขับสวนทางที่อาจจะกินเลนเข้ามาหาได้ และเผื่อช่องว่างระหว่างรถที่ขับตีคู่กันมาในขณะเข้าทางโค้งเอาไว้มากๆ นอกจากนี้ต้องพยายามมองเหตุการณ์ข้างหน้าระยะไกลๆ ประกอบกันไปด้วย 4. ไม่เผื่อระยะเมื่อแซง ในกรณีที่รถจักรยานยนต์ต้องการแซงรถคันหน้าไม่ว่าจะแซงทางซ้ายหรือขวา เมื่อแซงพ้นแล้วควรเว้นหรือเผื่อระยะห่างระหว่างหน้ารถที่เราแซงออกไปซักเล็กน้อย เพราะถ้ารถคันที่เราแซงกำลังเร่งเครื่องพอดีอาจเกิดการชนท้ายได้ 5. เลี้ยวออกจากซอย การเลี้ยวออกจากตรอกซอกซอยเป็นจุดที่ควรระวังมากที่สุด เพราะผู้ขับขี่จักรยานยนต์มักคิดว่ารถคันเล็กเร่งได้รวดเร็วกว่าและสามารถออกรถตัดหน้าอย่างกระชั้นชิดได้ทัน ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ดูให้แน่ใจก่อนว่ารถคันที่ขับผ่านนั้นใช้ความเร็วมากน้อยเพียงใด รวมถึงการเบี่ยงตัวรถจักรยานยนต์เพื่อหลบสิ่งกีดขวางโดยไม่มองรถที่ขับตามหลังมาด้วย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งครับ อย่ารีบร้อน…ดูให้แน่ใจ…จำให้ดี ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรระลึกไว้ว่า การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์นั้น ไม่ต่างอะไรกับ “เนื้อหุ้มเหล็ก” และไม่ว่าเราจะขับดีมีความรอบคอบเพียงใด แต่ปัจจัยอื่นๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกับเราได้…

สิทธิพิเศษการรับประกันคุณภาพรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า

รถจักรยานยนต์ยามาฮ่าทุกรุ่น ไม่เกิน 500 ซีซี. ที่ได้ลงทะเบียนรับประกันคุณภาพสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป จะได้สิทธิรับประกันคุณภาพทุกชิ้นส่วนเป็นเวลา 5ปี หรือ 50,000 กม. แล้วแต่ระยะใดถึงก่อน ไม่รวมอะไหล่สึกหรอตามอายุการใช้งานทั้งนี้ต้องนำรถเข้าตรวจเช็คตามระยะที่บริษัท ฯ กำหนด